วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

งานสร้างเสริมทันตสุขภาพในคนพิการ อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด

1.งบ สปสช.ตามพี่รู้ นะค่ะ file ที่แนบมา

1.1 งบปกติทั่วไป ( ถ้าขอในอำเภอก็พยายามให้อยู่ในแผน CUP แผน รพ. , บางที่ไปขอ อปท.)

1.2 งบที่ขอนอกเหนือจากที่ใช้ปกติ

ปีนี้ มี ลงงานทันตกรรมโดยตรง งบคุณภาพ เขตพี่ให้ จ.ละ แสนห้า ตัวชี้วัดคือการเข้าถึง มากขึ้น เอาไปทำอะไรก็ได้ รายละเอียด เขตยังไม่บอกมา

1.3 งบ PP AREA BASE อันนี้เขตยังไม่พิจารณา พี่พึ่งส่งไป ทำโครงการสายใยรักฟันดีจ.ร้อยเอ็ด( เขาให้ขอได้ โครงการละ แสนถึงห้าแสน พี่ขอไปสองแสนกว่า )


2.บริบท รพ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด

รพ. 60 เตียง หมอ 7 คน ( ศัลย์ สูตินารีแพทย์ เด็ก จิตเวชชุมชน )

ทันตแพทย์ 2 คน ( super GP 1 ,GP 1, กำลังไปเรียนprost อีก 1กลับมาปี 55 )
ทันตาภิบาล ใน รพ 6 คน ( 1 คนต้องออก โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพระดับตำบล อาทิตย์ละ 3 วัน )

สอ. 21 แห่ง ( 12 PCU , 1 CMU ) ใน 21 แห่ง นี้ ได้รับโควตาเป็น รพสต. 3 แห่ง คือ

1) โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพระดับตำบล รพสต. แห่งที่ 1 สอ.สว่าง
ทภ.น้ำ อยู่ รพ. จันทร์ กับศุกร์

อยู่ รพสต.สว่าง อังคาร พุธ พฤ และคลินิกนอกเวลา เสาร์ กับ พฤ เย็น

ทพ. อาทิตย์ละ 1 บ่าย ( พฤ )

2) โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพระดับตำบล รพสต. แห่งที่ 2 สอ.งิ้ว
ทภ.สมคิด อยู่ ประจำ จันทร์-ศุกร์ และคลินิกนอกเวลา เย็น จันทร์-ศุกร์

ทพ. เดือนละ 1 บ่าย ( ศุกร์ที่ 3ของเดือน )

3) โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพระดับตำบล รพสต. แห่งที่ 3 สอ.อุ่มเม่า
ทภ.ขวัญ อยู่ ประจำ จันทร์-ศุกร์ และคลินิกนอกเวลา เสาร์

ทพ. เดือนละ 1 บ่าย ( พุธที่ 3 ของเดือน )

สอ. อื่นๆ ไม่มีทันตาภิบาลประจำ แบ่ง ทภ ทั้งอำเภอ ( รพ. 6 + สอ. 2 ) เป็น ทภ CEO

ดูแลบริหารจัดการงานในระดับตำบล ให้เป็นไปตามเป้าหมายฝ่ายกำหนดทุกปี


3. ผู้พิการสิ่งที่โพนทองทำอยู่ ทำไปเรื่อยๆ ดูเหมือนจริงจังและไม่จีรัง

1) การจัดการฐานข้อมูล แรกๆ เรายังไม่รู้แม้กระทั่ง ผู้พิการคืออะไร ระบบในอำเภอเป็นยังไง

ช่วงแรกที่ทำ ก็คือเริ่มไปศึกษาระบบก่อน คุยกันในฝ่ายให้รู้ด้วยกัน

ข้อมูลผู้พิการปกติ ทุกอำเภอจะมีผู้รับผิดชอบ





ปีนี้ ข้อมูล ล่าสุด ยังไม่เรียบร้อย (เนื่องจากพึ่งหมดปีงบ เขาจะสำรวจทุกปี) 962 คน ระดับ 5 ทั้งหมด 138 คน

บางรายเราลงไปดู วางแผนเป็นรายบุคคล แนบ file น้องเสรีมาให้ดู ทำไปแก้ไป แต่พรุ่งนี้ จะปรับฟอร์อม ใหม่ ให้ทีมสหวิชาชีพและเครือข่าย วิจารณ์




2)ในด้านนโยบาย

ในเป้าหมายของอำเภอด้านทันตะ ( ปกติจะกำหนดตัวชี้วัดเป็นเป็น 3 เรื่องใหญ่ๆ

2.1 เรื่องงานทั่วไปตามกลุ่มอายุ /กลุ่มเสี่ยง ผู้พิการ เป็นหนึ่งในกลุ่มที่เราสนใจ เป็น priority ที่ 2 ในการเยี่ยมบ้าน

2.2 งานนวัตกรรมด้านเสริมแรงชุมชน

ซึ่งเลือกกลุ่มไหนทำก็ได้ ที่น้องเลือก เช่นชมรมผู้สูงอายุที่สว่างปี่แล้วได้ที่1 ของเขต สมคิดทำเรื่องโรงเรียนเครือข่าย น้อง อีกคนทำเรื่อง น้องไก่ ทำเรื่อง พัฒนาระบบริการปฐมภูมิใน สอ.เครือข่ายและตอนหลังบูรณาการการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ของ อ. อมร นนทสุต

ปีนี้ มีนโยบาย ทำเรื่อง home care Z [ บูรณาการ โรคเรื้อรัง ผู้พิการ ) น้ององหวาน กับแอร์ รับงาน แอร์ทำเรื่องเครือข่ายเยาวชน กะพาน้องๆ ออกทำงาน home care


3) งานคุณภาพ ตามที่ รพ.กำหนด เช่น น้องหยกทำเรื่อง คลินิก DM คลินิกthalassemia



อันนี้เป็นตัวอย่าง นโยบาย ค่ะ แก้ทุกปี อันไหน ทำไม่ได้ก็ลดลง

เกณฑ์ในการเยี่ยมบ้านของงานทันตกรรม ปี งบประมาณ 2553





3. กิจกรรมสนับสนุน

คุย case ในทีม pct ทีม เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทำ KM ทั้งน้องเรา , จนท.อนามัย , อสม.และเครือข่าย ปีที่แล้ว อย่างละ 1

เวลา อสม. ชช .ออกเราออกไปด้วย สอนและปรับกันไป เจอกัน เป็นรายสอ. ทุกเดือน เจอใหญ่ระดับอำเภอปีละ 2 ครั้ง

ตอนแรก KM อสม.เชี่ยวชาญทันตะ จะจัด อาทิตย์นี้ (ปีที่แล้ว เราทำงานทั้งปี ไปเจออะไรกันมาบ้าง + กะสอนวิชาการให้ เสริมเขี้ยวเล็บซะหน่อย ) พี่เลยปรับเป็น KM ระบบ home care ทั้งระบบแทน

ที่ประชุมฝ่าย ก็พยายามตามงาน อันวิชาการ หาอ่านตาม net จัด เวลาให้น้อง ได้มีเวลาไปออก คุยกับทีมผู้เกี่ยวข้องบ่อยๆ เท่าที่มีเวลา (บูรณาการตามงานต่างๆที่ทำ เนื่องจากพี่ดูแล งานปฐมภุมิของอำเภออยู่ เลยบูเรื่องที่อยากจะทำได้บ่อย )

ทพญ.เยาวพา จันทรบุตร รพ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น